วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

♥ ED433 :: ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้

แนะนำรายวิชา ED433  
ศษ 433 ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ 
( Strategies for Knowledge Management ) 


 โดย ท่าน อ.ดร. สมชาย เทพแสง 





คำอธิบายรายวิชา


           ศึกษานัยสำคัญของสังคมที่มีความรู้เป็นพื้นฐาน (Knowledge-Based Society) การเชื่อมโยงความรู้กับการปฏิบัติและการดำรงชีวิต การตัดสินใจ โดยอาศัยฐานความรู้และภูมิปัญญา การจัดระบบความรู้ การบริหารจัดการความรู้ และการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต รวมทั้งการกำหนดยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ 


จุดมุ่งหมายรายวิชา


            เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการความรู้ การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ การกำหนดยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเชื่อมโยงความรู้กับการปฏิบัติและการดำรงชีวิต




นิทรรศการ

 นิทรรศการ

" เปิดโลกนิทรรศการการจัดการความรู้ "
 
     โดย นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.5ปี)                                                                                                                         



ภาพกิจกรรม



นิสิตกศ.บ สาขาวิชาฟิสิกส์ ร่วมงานเปิดโลกนิทรรศการการจัดการเรียนรู้

แผ่นพับในงานนิทรรศการ "เปิดโลกนิทรรศการการจัดการความรู้"
โดย นิสิตหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต(กศ.บ.5ปี)

ข้อปฏิบัติและกำหนดการในการเข้าร่วมงานนิทรรศการ

แผ่นพับของโรงเรียนประชามนตรีวิทยาโดยกลุ่ม SC4ED4 (ฟิสิกส์กศ.บ.5 ปี)

วิสัยทัศน์ พัทธกิจ เป้าหมาย คุณลักษณะอันพึงประสงค์และบุคคลากร

การจัดการความรู้ภายในโรงเรียนและแผนพัฒนาโรงเรียนประชามนตรีวิทยา



       แผนกลยุทธ์พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและครูผู้สอน




โครงการสัมมนา

โครงการสัมมนาการจัดการเรียนการสอน

เรื่องรู้เท่าทันการประกันคุณภาพการศึกษารอบ 3 

วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554


กิจกรรมในช่วงเช้า

             บรรยายเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาโดยดร.สมชาย สังข์สี และมีการเสวนาเรื่องรู้เท่าทันการประกันคุณภาพการศึกษารอบ โดยตัวแทนนิสิตระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกรวม ท่านและตัวแทนอาจารย์ ท่าน


บรรยายเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาโดย ดร.สมชาย สังข์สี


เสวนาเรื่อง รู้เท่าทันการประกันคุณภาพการศึกษารอบ 3 

กิจกรรมในช่วงบ่าย

        กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการโดยพิธีกรจัดทำแผนผังความคิดในหัวข้อแบ่งกลุ่มตามสาขาวิชา


แผนผังความคิด กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา
โดยนิสิตกลุ่ม SC4ED4 (ฟิสิกส์ กศ.บ.)


นำเสนอแผนผังความคิดต่อกรรมการ


    
    มาตรฐานและตัวชี้วัดคุณภาพทางการศึกษา 

        หมายถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งมาตรฐานและตัวชี้วัดคุณภาพทางการศึกษา

       1. มาตรฐานการศึกษาของชาติ

       2. มาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สมศ.) : ประถมและมัธยมศึกษา
  
       ซึ่งมาตรฐานที่ 2 มีมาตรฐาน 18 มาตรฐานแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้คือ

       1.มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน มี  8 มาตรฐาน
       2. มาตรฐานด้านการเรียนการสอน มี 2 มาตรฐาน
       3. มาตรฐานด้านการบริหารและการจัดการศึกษามี 6 มาตรฐาน
       4. มาตรฐานด้านการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ มี 2 มาตรฐาน

        ได้ร่วมกิจกรรมกลุ่มนำเสนอกระบวนการจัดการความรู้ในเรื่องของการประกันคุณภาพการศึกษา


รายงานกลุ่มที่ 4 เรื่องเทคโนฯสารสนเทศกับการจัดการความรู้


เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ 


            เทคโนโลยีเป็นปัจจัยหรือเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ ดังนั้น การจัดการความรู้เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะเป็นไปตามโมเดล ดังต่อไปนี้


     IT & KM Model 

เป็นโมเดลที่กล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้
 (Information Technology and Knowledge Management) ประกอบไปด้วย

        Knowledge = ความรู้ 

เป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวบุคคลหรือองค์กรนั้นๆ ที่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้

          Process = กระบวนการ 

เป็นกระบวนในการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันของบุคคล

          Tool = เครื่องมือ 

ในที่นี้หมายถึงเทคโนโลยีสารสนเทศนั่นเอง เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้
กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ของบุคคลมีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

           Achievement = ความสำเร็จ 

เป็นสิ่งที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันของบุคคลโดยมีเทคโนโลยี
เป็นตัวช่วย ทำให้การจัดการความรู้เป็นไปอย่างมีระบบ สะดวกต่อการนำไปใช้



                เทคโนโลยีมีบทบาทในการจัดการองค์ประกอบความรู้ 


 เทคโนโลยีการสื่อสาร 

ช่วยให้เข้าถึงความรู้ต่างๆได้ง่ายขึ้นสะดวกขึ้นรวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสาร
กับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้


 เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน

ช่วยให้ประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพลดอุปสรรคในเรื่องของระยะทาง


 เทคโนโลยีการจัดเก็บ 

ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ




               สามารถเขียนเป็น Model ความสัมพันธ์ของสารสนเทศและความรู้ตามปิรามิดลำดับขั้นความรู้ของ Hideo Yamazaki




รายงานกลุ่มที่ 3 เรื่องยุทธศาสตร์การจัดการความรู้


ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ 
  



                ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ ช่วยให้การดำเนินการจัดการความรู้ไม่เปะปะ เหวี่ยงแห ไม่เกิดสภาพที่มีการลงทุนลงแรงจัดการความรู้อย่างมากมาย แต่ได้ผลน้อย หากเลือกใช้ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้อย่างถูกต้อง การดำเนินการจัดการความรู้ จะมีการลงทุนต่ำแต่ได้ผลตอบแทนสูง




                ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ตามแนวคิดของ

 American Productivity & Quality Center ; APQC 

แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่


     1. ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ทั่วทั้งองค์กร 

         เป็นยุทธศาสตร์ขององค์กรที่มีผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้นำอย่างเป็นทางการในด้านการจัดการความรู้ มีการดำเนินการจัดการความรู้ อย่างครบถ้วนและเป็นระบบทั่วทั้งองค์กร และมักมีความเชื่อว่าความรู้เป็น “ผลิตภัณฑ์” อย่างหนึ่งขององค์กร

     2. ยุทธศาสตร์ถ่ายทอดความรู้และวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practice) 

         ใช้เป็นยุทธศาสตร์เสริม เป้าหมายหลักอยู่ที่การลดระยะเวลาการทำงาน องค์กรที่ดำเนินการตามยุทธศาสตร์นี้จะเน้นการทำงานเป็นทีม เน้นความสัมพันธ์และการทำงานเป็นเครือข่ายสำหรับเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความรู้

     3. ยุทธศาสตร์ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า 

         เป็นยุทธศาสตร์ที่เน้นความรู้ที่ได้มาจากการสอบถามลูกค้าเป็นสำคัญ

     4. ยุทธศาสตร์ปัจเจกบุคคล 

         ยุทธศาสตร์นี้เน้นความเชื่อว่า ความรู้เป็นทรัพย์ส่วนบุคคลที่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นเจ้าของ การจัดการความรู้เป็นเรื่องของปัจเจกบุคค จึงต้องส่งเสริมการจัดการความรู้ระดับบุคคล และการถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคคล

     5. ยุทธศาสตร์จัดการสินทรัพย์ทางปัญญา (intellectual asset)
         
         เน้นการจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์ในกลุ่มสิทธิบัตร การเพิ่มความพร้อมในการส่งมอบ และความพร้อมด้านการตลาดของสินทรัพย์

     6. ยุทธศาสตร์สร้างความรู้และนวัตกรรม 

         เน้นการสร้างความรู้ใหม่ โดยการยกระดับความรู้เดิมยุทธศาสตร์นี้ทำยาก เพราะต้องใช้นวัตกรรมและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นองค์ประกอบสำคัญ



Model ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ 



รายงานกลุ่มที่ 2 เรื่องกระบวนการจัดการความรู้


กระบวนการจัดการความรู้ 
(Knowledge Management Process)

                    เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้  หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร  ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

                    1. การบ่งชี้ความรู้ 

                     เช่น พิจารณาว่าเป้าหมาย คืออะไร ให้บรรลุเป้าหมาย ต้องรู้อะไร ขณะนี้มีความรู้อะไรบ้าง รูปแบบใด อยู่ที่ใคร

                    2. การสร้างและแสวงหาความรู้ 

                    เช่น การสร้างความรู้ใหม่, แสวงหาความรู้จากภายนอก, รักษาความรู้เก่า, กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

                    3.  การจัดความรู้ให้เป็นระบบ 

               เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต

                    4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ 

                    เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน, ใช้ภาษาเดียวกัน, ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

                    5. การเข้าถึงความรู้ 

                    เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)

                   6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้

                    ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็นเอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน, กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม, ชุมชนแห่งการเรียนรู้, ระบบพี่เลี้ยง, การสับเปลี่ยนงาน, การยืมตัว, เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

                    7. การเรียนรู้ 

                    ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จาก  สร้างองค์ความรู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง


 MODEL 
 กระบวนการจัดการความรู้ 




รายงานกลุ่มที่ 1 เรื่องแนวคิด ทฤษฎีการจัดการความรู้



การจัดการความรู้ 


 (Knowledge Management








การจัดการความรู้ของกลุ่มที่ 1


 เรื่อง แนวคิด ทฤษฎีการจัดการความรู้







Model กระบวนการจัดการความรู้

Model กระบวนการจัดการความรู้



     แรงจูงใจในการริเริ่มการจัดการความรู้


            แรงจูงใจแท้ ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน และองค์กร เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้

            แรงจูงใจเทียม ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ เป็นต้นเหตุที่นำไปสู่การทำการจัดการความรู้แบบเทียม และนำไปสู่ความล้มเหลวในที่สุด เช่น ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด กล่าวคือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ หรือทำเพื่อชื่อเสียง ทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรดูดี หรือมาจากความต้องการผลงานของหน่วยย่อยภายในองค์กร เช่น หน่วยพัฒนาบุคลากร (HRD) หน่วยสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) หรือหน่วยพัฒนาองค์กร (OD) ต้องการใช้การจัดการความรู้ในการสร้างความเด่น หรือสร้างผลงานของตน หรืออาจมาจากคนเพียงไม่กี่คน ที่ชอบของเล่นใหม่ๆ ชอบกิจกรรมที่ดูทันสมัย เป็นแฟชั่น แต่ไม่เข้าใจความหมายและวิธีการดำเนินการจัดการความรู้อย่างแท้จริง





Model กระบวนการจัดการความรู้มีหลายรูปแบบ เช่น

SECI Model

           เป็นการสร้างองค์ความรู้ ด้วยการขยายผลจากชนิดของความรู้คือ ความรู้ที่มีอยู่ในสมองคน (Tacit Knowledge) กับความรู้ที่สามารถหาได้จากสื่อภายนอก (Explicit Knowledge) โมเดลดังกล่าวมีชื่อว่า “SECI- Knowledge Conversion Process” ซึ่งมีกระบวนการดังนี้

           1.Socialization
         
           เป็นการถ่ายโอนความรู้โดยตรงระหว่างกลุ่มคนหรือบุคคล โดยไม่ผ่านการเขียน เรียกว่า “ การเสวนาธรรม” กลุ่มคนที่มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่ง กลุ่มคนที่มาเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กันนี้มักจะมีพื้นฐานความรู้ที่สอดคล้องกัน หรือเคยมีประวัติอดีตที่คล้ายคลึงกัน จะมีคลื่นความถี่ที่ใกล้เคียงกันสามารถสื่อสารและทำความเข้าใจกันได้โดยง่าย

                     TK    TK     ถ่ายทอดจากคนสู่คน

           2. Externalization เป็นการถ่ายโอนความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในการสอนผ่านสื่อต่างๆ จากประสบการณ์ในสมองของเขาออกมาสู่ภายนอกแก่ผู้อื่น

                     TK    EK

           3. Combination การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลง และมีการศึกษาเรียนรู้จากความรู้ภายนอก ซึ่งแนวคิดจะมีความหลากหลายมากต้องสร้างความเข้าใจแลเชื่อมโยงความรู้อันหลากหลายให้ได้ และถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆให้กับองค์กรของตน

                      EK   EK           

           4.  Internalization การนำความรู้ใหม่มาลงมือปฏิบัติจริง ผู้ปฏิบัติจะเกิดการเรียนรู้ให้เกิดเป็นความรู้ประสบการณ์และปัญญา เป็นประสบการณ์อยู่ในสมองในเชิง Tacit Knowledge ต่อไป

                     EK     TK

คิดค้นโดย Ikujiro Nonaka และ Takeuchi 




โมเดลปลาทู

            “ โมเดลปลาทู” เป็นโมเดลอย่างง่าย ของ สคส. ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี 3 ส่วน คือ


            1 . ส่วน “ หัวปลา” (Knowledge Vision- KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า “ เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “ หัวปลา” นี้จะต้องเป็นของ “ คุณกิจ” หรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี “ คุณเอื้อ” และ “ คุณอำนวย” คอยช่วยเหลือ


                2 . ส่วน “ ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS) เป็นส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง “ คุณอำนวย” จะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ “ คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “ คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม




             3 . ส่วน “ หางปลา” (Knowledge Assets-KA) เป็นส่วนของ “ คลังความรู้” หรือ “ ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “ เกร็ดความรู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ “ หางปลา” นี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป