วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

รายงานกลุ่มที่ 3 เรื่องยุทธศาสตร์การจัดการความรู้


ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ 
  



                ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ ช่วยให้การดำเนินการจัดการความรู้ไม่เปะปะ เหวี่ยงแห ไม่เกิดสภาพที่มีการลงทุนลงแรงจัดการความรู้อย่างมากมาย แต่ได้ผลน้อย หากเลือกใช้ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้อย่างถูกต้อง การดำเนินการจัดการความรู้ จะมีการลงทุนต่ำแต่ได้ผลตอบแทนสูง




                ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ตามแนวคิดของ

 American Productivity & Quality Center ; APQC 

แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่


     1. ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ทั่วทั้งองค์กร 

         เป็นยุทธศาสตร์ขององค์กรที่มีผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้นำอย่างเป็นทางการในด้านการจัดการความรู้ มีการดำเนินการจัดการความรู้ อย่างครบถ้วนและเป็นระบบทั่วทั้งองค์กร และมักมีความเชื่อว่าความรู้เป็น “ผลิตภัณฑ์” อย่างหนึ่งขององค์กร

     2. ยุทธศาสตร์ถ่ายทอดความรู้และวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด (best practice) 

         ใช้เป็นยุทธศาสตร์เสริม เป้าหมายหลักอยู่ที่การลดระยะเวลาการทำงาน องค์กรที่ดำเนินการตามยุทธศาสตร์นี้จะเน้นการทำงานเป็นทีม เน้นความสัมพันธ์และการทำงานเป็นเครือข่ายสำหรับเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความรู้

     3. ยุทธศาสตร์ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า 

         เป็นยุทธศาสตร์ที่เน้นความรู้ที่ได้มาจากการสอบถามลูกค้าเป็นสำคัญ

     4. ยุทธศาสตร์ปัจเจกบุคคล 

         ยุทธศาสตร์นี้เน้นความเชื่อว่า ความรู้เป็นทรัพย์ส่วนบุคคลที่มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นเจ้าของ การจัดการความรู้เป็นเรื่องของปัจเจกบุคค จึงต้องส่งเสริมการจัดการความรู้ระดับบุคคล และการถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคคล

     5. ยุทธศาสตร์จัดการสินทรัพย์ทางปัญญา (intellectual asset)
         
         เน้นการจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์ในกลุ่มสิทธิบัตร การเพิ่มความพร้อมในการส่งมอบ และความพร้อมด้านการตลาดของสินทรัพย์

     6. ยุทธศาสตร์สร้างความรู้และนวัตกรรม 

         เน้นการสร้างความรู้ใหม่ โดยการยกระดับความรู้เดิมยุทธศาสตร์นี้ทำยาก เพราะต้องใช้นวัตกรรมและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์เป็นองค์ประกอบสำคัญ



Model ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น